วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Approach , Method and Technique

>>>>สรุปApproach , Method  and  Technique  จาทฤษฎีของEdward  Antony ,Richards  and  Rogers  และ Harmer

Approach  :  สมมุติฐาน  ข้อสันนิษฐาน  ความเชื่อ  ทฤษฎี
Method  :  แผนภาพโดยรวมสิ่งที่เราจะสอนตามApproach
Technique  :  กิจกรรมหรือขั้นตอนต่างๆที่อยู่ในวิธีสอนแต่ละแบบ

Multiple Intelligences

>>>>ผู้เรียนมีความฉลาดแตกต่างกัน  ซึ่งครูไม่ได้ให้ความสำคัญ

>>>>Gardner  อ้างว่า  มนุษย์เรามีจุดเด่นหลายตัว  ซึ่งความฉลาดเหล่านี้ถูกกระตุ้นโดยเราไม่รู้ตัว  แต่บางครั้งอาจจะกลายเป็นจุดด้อยก็ได้  ความฉลาดเหล่านี้มี 9 อย่างได้แก่  การใช้ภาษา , การใช้ตัวเลข ความเป็นเหตุเป็นผล , ดนตรี , การจินตนาการ , การเคลื่อนไหวร่างกายได้ดี , มนุษย์สัมพันธ์ดี , เข้าใจตนเอง , เข้าใจธรรมชาติ , เข้าใจการมีชีวิตอยู่

>>>>การเรียนรู้ทางสังคมและกระบวนการจิตวิทยาต้องเริ่มต้นจาก
         -จัดการการเรียนของตนเองได้
         -เห็นคุณค่าของความฉลาดของตนเอง

>>>>สำหรับครู  ครูต้องเข้าใจว่าเด็กมีความฉลาดด้านใด  จึงจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความฉลาดของเด็กให้อยู่อย่างคงทน

Whole Language Approach

>>>>เป็นการเรียนภาษาที่เรียนแบบทั้งหมดหรือเป็นภาพรวม  เน้นให้เด็กเข้าใจโดยภาพรวม

>>>>Top-Down  เด็กต้องเข้าใจภาพรวมของเนื้อเรื่องก่อนแล้วค่อยดูคำศัพท์หรือไวยากรณ์

>>>>ความผิดพลาดที่ผู้เรรียนสร้างหรือมีเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้  ครูอาจจะทดสอบโดยการเขียน

>>>>ทฤษฏีของVygotsky  จะเกี่ยวข้องกับsocial  nature  of  learning  และ  cooperative  มาเกี่ยวด้วย  ซึ่งหมายถึงครูและผู้เรียนมีส่วนร่วม



Cooperative Learning

>>>>เป็นการเรียนแบบร่วมมือ  คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง  ครูจะสอนทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกับผู้อื่น  เพื่อที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายหลัก
1.กระตุ้นให้ผู้เรียนคืดเป็นกลุ่ม
2.ผู้เรียนต้องอยู่ด้วยกันสักระยะ  เพื่อที่จะเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน
3.ความพยายามที่ได้ทำ  ต้องได้รางวัลทั้งกลุ่ม  ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง
4.สอนทักษะทางสังคม  เพื่อให้บทสนทนาราบรื่นและลึกซึ้ง
5.การเรียนรู้ภาษาจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ภาษาเป้าหมายในการเรียนและทำงาน
6.ถึงแม้ว่านักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม  ก็ต้องรับผิดชอบงานของตัวเองด้วย
7.ความรับผิดชอบจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
8.สมาชิกทุกคนถูกกระตุ้นให้มีความรู้สึกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบและมีส่วนร่วม
9.ครูสอนการทำงานร่วมกัน

Lersen-Freeman, D. (2000). Techniques  and  Principles  in  Language  Teaching.  Hong  Kong :  Oxford  University  Press.p.164-169.

Task - Base Instruction

>>>>งานเป็นฐาน  ซึ่งใช้ในขั้นProduction  ผู้เรียนต้องใช้ตัวภาษาเพื่อทำงานให้สำเร็จ  การประเมินชิ้นงานแบบTask  Base คือจะเน้นตัวงานที่เสร็จมากกว่าการใช้ภาษาที่ถูกต้อง  เน้นให้นักเรียนใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วเพื่อให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น

เป้าหมายหลัก
1.งานที่ให้ทำต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่างานต้องออกมาเป็นแบบไหน
2.ก่อนที่ให้ทำงานเดี่ยวจะต้องซ้อมกันทั้งหมดก่อน  เพื่อให้เห็นขั้นตอนจริง
3.ครูควรแยกขั้นตอนการทำงานให้เห็นชัดเจน
4.หาวิธีให้นักเรียนมีส่วนร่วม
5.ครูใช้ภาษาอะไรก็ได้ที่จะทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจในตัวงาน
6.ครูต้องช่วยแก้ไขเมื่อนักเรียนพูดผิด
7.การเติมเต็ม  ควรให้ทำงานjig  saw  เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความเข้าใจและทักษะการพูดด้วย
8.นักเรียนควรได้รับfeedbackถึงความสำเร็จการทำงานของเขา
9.นักเรียนสามารถออกแบบงานได้

Prabhu
-มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน(information  gap)
-ผู้เรียนจะต้องแสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติ
-ผู้เรียนจะต้องนำเสนอใหม่เป็นของตนเอง  แต่ยังคงเป็นข้อมูลเดิม

Lersen-Freeman, D. (2000). Techniques  and  Principles  in  Language  Teaching.  Hong  Kong :  Oxford  University  Press.p. 149-149.

Content-Base Instruction

>>>>เป็นวิธีการที่ครูจะสอนในแต่ละเนื้อให้  ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสอน

เป้าหมายหลัก
1.เนื้อหาวิชาอื่นจะถูกใช้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ภาษาด้วย
2.เน้นการใช้ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3.เมื่อผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมก็จะเป็นตัวกระตุ้นได้
4.ครูสอนแบบscaffold(จากง่ายไปยาก)  โดยให้นักเรียนสร้างประโยคแล้วครูจึง่วยเติมเต็ม
5.ภาษาจะรียนได้ดีก็ต่อเมื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักเรียน
6.คำศัพท์จะง่ายขึ้นเพราะมีการใช้ในบทความ
7.ถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องจริง  เขาต้องมีการช่วยเหลือของตัวภาษา
8.ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาและเนื้อหาโดยใช้สื่อของจริง
9.ความสามารถในการอ่าน  อภิปราย  และเขียน

Lersen-Freeman, D. (2000). Techniques  and  Principles  in  Language  Teaching.  Hong  Kong :  Oxford  University  Press.p. 137-141.

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Communicative Language Teaching

>>>>เป็นหัวใจสำคัญในการสอนปัจจุบัน  จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาเป้าหมายในการสื่อสาร  เน้นการเรียนรู้โครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์

Communicative  competence(ใช้สื่อสารความรู้  ความเข้าใจ)
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางสังคม
3..มีความรู้ความเข้าใจในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคต่างๆ
4..มีความรู้ความเข้าใจในการใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร

ต้องมีลักษณะดังนี้
1.รู้ว่าจะต้องใช้ภาษาในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
2.รู้ว่าจะต้องใช้ในสถาการณ์แบบใด
3.เข้าใจเรื่องของบทความที่แตกต่างกันออกไป
4.เข้าใจเรื่องที่จะสื่อสารในขณะที่เรารู้อย่างจำกัด  โดยใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป

ลักษณะพิเศษของCLT
1.ให้บรรลุเป้าหมายของหัวใจสำคัญทั้งสี่อย่าง
2.ความสัมพันธ์ของform กับ function
3.เน้นการใช้ภาษาได้อย่าถูกต้องและคล่องแคล่ว
4.นึกถึงบริบทถึงสถานการณ์จริงของผู้เรียน : สื่อของจริง
5.ผู้เรียนรับผิดชอบงานต่างๆด้วยตัวเอง  ต้องเข้าใจและพัฒนากลยุทธ์ต่างๆ
6.ครูเป็นแค่ผู้ให้ความสะดวกและให้คำแนะนำ
7.บทบาทนักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนอย่างกระตือรือร้น

เป้าหมายหลัก
1.ให้เกิดการสื่อสารจริงๆให้ได้
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทดสอบ  ทดลองสิ่งที่ผู้เรียนรู้
3.ต้องอดทนกับความผิดพลาดของผู้เรียน  เพราะว่าการที่ผู้เรียนผิดพลาด  แสดงว่าเขากำลังสร้างcommunicative  competence
4.ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
5.เชื่อมโยงทักษาการพูด  อ่าน  ฟัง ให้สัมพันธ์กัน
6.ให้ผู้เรียนสรุปกฏเกณฑ์เอง  เรียนแบบอุปนัย

ขั้นตอนการสอน :  PPP  approach

Warm  up ==> Presentation ==> Practice ==> Production ==> Wrap up

Presentation : นำเสนอเนื้อหา
Practice : ให้นักเรียนฝึก  โดยครูต้องควบคุมอยู่
Production : ให้นักเรียนฝึกแบบอิสระ  เน้นการนำเนื้อหาที่เรียนใช้ในสถานการณ์จริง  ควรออกมาเป็นชิ้นงาน

Mechanical  practice 
>>>ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าใจตัวภาษาก็ได้  เป็นการฝึกแบบrepetition  drills  คือการฝึกซ้ำๆ  หรือsubstitution  drills   คือการฝึกแทนคำบางคำ
Meaningful  practice
>>>เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกตัวภาษามาใช้เอง  แบบฝึกหัดการเติมคำหรือเลือกคำ
Communicative  practice 
>>>เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกใช้ภาษาในบริบทที่ถูกต้อง  เข้าในสถานการณ์จริง

เทคนิคการสอน
1.ใช้สื่อของจริง
2.จัดลำดับของประโยคใหม่
3.ใช้การเล่นเกม : ช่องว่างของข้อมูล
4.ใช้แถบของเรื่องราว  แล้วแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน  จากนั้นนำมาเรียงเหตุการณ์
5.การแสดงบทบาทสมมุติ : ครูบอกบท ครูบอกสถานการณ์  ผู้เรียนคิดบทเอง

Information  Gap
>>>การที่จะได้ข้อมูบมาต้องใช้คำศัพท์  ไวยากรณ์  กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานคู่  เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน  หรือแสดงบทบาทสมมุติ
Jigsaw  Activities
>>>ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งกลุ่ม  ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีข้อมูลที่จะเติมเต็ม  มีการใช้ภาษาโครงสร้างที่สอนไป ดูตามความเหมาะสมของห้อง  
Accuracy  and  Fluency  Activities
>>>Accuracy
      -ใช้ภาษาในห้องเรียนที่เรียนมาเท่านั้น
      -เน้นเรื่องของการสร้างตัวอย่างของประโยคที่ถูกต้องเท่านั้น
      -ฝึกภาษาที่ไม่อยู่ในบริบทใดๆทั้งสิ้น
      -ฝึกภาษาตัวอย่างที่คัดเลือกมาแล้ว
      -สื่อสารไม่ต้องมีความหมาย
      -ควบคุมตัวเลือกที่นักเรียนใช้ฝึก
>>>Fluency
      -เน้นการใช้ภาษาแบบจริงๆ
      -เน้นความสามารถในการสื่อสารให้สำเร็จ
      -เน้นใช้ภาษาที่มีความหมาย
      -เน้นใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร
      -เน้นคิดตัวภาษาที่คาดไม่ถึง
      -เน้นเชื่อมโยงภาษากับบริบทจริง