วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Communicative Language Teaching

>>>>เป็นหัวใจสำคัญในการสอนปัจจุบัน  จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาเป้าหมายในการสื่อสาร  เน้นการเรียนรู้โครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์

Communicative  competence(ใช้สื่อสารความรู้  ความเข้าใจ)
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางสังคม
3..มีความรู้ความเข้าใจในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประโยคต่างๆ
4..มีความรู้ความเข้าใจในการใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร

ต้องมีลักษณะดังนี้
1.รู้ว่าจะต้องใช้ภาษาในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
2.รู้ว่าจะต้องใช้ในสถาการณ์แบบใด
3.เข้าใจเรื่องของบทความที่แตกต่างกันออกไป
4.เข้าใจเรื่องที่จะสื่อสารในขณะที่เรารู้อย่างจำกัด  โดยใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป

ลักษณะพิเศษของCLT
1.ให้บรรลุเป้าหมายของหัวใจสำคัญทั้งสี่อย่าง
2.ความสัมพันธ์ของform กับ function
3.เน้นการใช้ภาษาได้อย่าถูกต้องและคล่องแคล่ว
4.นึกถึงบริบทถึงสถานการณ์จริงของผู้เรียน : สื่อของจริง
5.ผู้เรียนรับผิดชอบงานต่างๆด้วยตัวเอง  ต้องเข้าใจและพัฒนากลยุทธ์ต่างๆ
6.ครูเป็นแค่ผู้ให้ความสะดวกและให้คำแนะนำ
7.บทบาทนักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนอย่างกระตือรือร้น

เป้าหมายหลัก
1.ให้เกิดการสื่อสารจริงๆให้ได้
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทดสอบ  ทดลองสิ่งที่ผู้เรียนรู้
3.ต้องอดทนกับความผิดพลาดของผู้เรียน  เพราะว่าการที่ผู้เรียนผิดพลาด  แสดงว่าเขากำลังสร้างcommunicative  competence
4.ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
5.เชื่อมโยงทักษาการพูด  อ่าน  ฟัง ให้สัมพันธ์กัน
6.ให้ผู้เรียนสรุปกฏเกณฑ์เอง  เรียนแบบอุปนัย

ขั้นตอนการสอน :  PPP  approach

Warm  up ==> Presentation ==> Practice ==> Production ==> Wrap up

Presentation : นำเสนอเนื้อหา
Practice : ให้นักเรียนฝึก  โดยครูต้องควบคุมอยู่
Production : ให้นักเรียนฝึกแบบอิสระ  เน้นการนำเนื้อหาที่เรียนใช้ในสถานการณ์จริง  ควรออกมาเป็นชิ้นงาน

Mechanical  practice 
>>>ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าใจตัวภาษาก็ได้  เป็นการฝึกแบบrepetition  drills  คือการฝึกซ้ำๆ  หรือsubstitution  drills   คือการฝึกแทนคำบางคำ
Meaningful  practice
>>>เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกตัวภาษามาใช้เอง  แบบฝึกหัดการเติมคำหรือเลือกคำ
Communicative  practice 
>>>เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกใช้ภาษาในบริบทที่ถูกต้อง  เข้าในสถานการณ์จริง

เทคนิคการสอน
1.ใช้สื่อของจริง
2.จัดลำดับของประโยคใหม่
3.ใช้การเล่นเกม : ช่องว่างของข้อมูล
4.ใช้แถบของเรื่องราว  แล้วแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน  จากนั้นนำมาเรียงเหตุการณ์
5.การแสดงบทบาทสมมุติ : ครูบอกบท ครูบอกสถานการณ์  ผู้เรียนคิดบทเอง

Information  Gap
>>>การที่จะได้ข้อมูบมาต้องใช้คำศัพท์  ไวยากรณ์  กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานคู่  เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน  หรือแสดงบทบาทสมมุติ
Jigsaw  Activities
>>>ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งกลุ่ม  ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีข้อมูลที่จะเติมเต็ม  มีการใช้ภาษาโครงสร้างที่สอนไป ดูตามความเหมาะสมของห้อง  
Accuracy  and  Fluency  Activities
>>>Accuracy
      -ใช้ภาษาในห้องเรียนที่เรียนมาเท่านั้น
      -เน้นเรื่องของการสร้างตัวอย่างของประโยคที่ถูกต้องเท่านั้น
      -ฝึกภาษาที่ไม่อยู่ในบริบทใดๆทั้งสิ้น
      -ฝึกภาษาตัวอย่างที่คัดเลือกมาแล้ว
      -สื่อสารไม่ต้องมีความหมาย
      -ควบคุมตัวเลือกที่นักเรียนใช้ฝึก
>>>Fluency
      -เน้นการใช้ภาษาแบบจริงๆ
      -เน้นความสามารถในการสื่อสารให้สำเร็จ
      -เน้นใช้ภาษาที่มีความหมาย
      -เน้นใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร
      -เน้นคิดตัวภาษาที่คาดไม่ถึง
      -เน้นเชื่อมโยงภาษากับบริบทจริง
     



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น